กลอน 6 ของ กลอนสุภาพ

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 6 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย[2] นอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร แต่ที่ใช้แต่ตลอดเรื่องเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กนกนคร ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)

คณะ กลอนหก บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 6 คำ ตามผัง

O O O O O OO O O O O O
O O O O O OO O O O O O

สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สองของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สองกับคำที่สาม หรือระหว่างคำที่สี่กับคำที่ห้าของแต่ละวรรค

ตัวอย่างกลอน 6
วันหนึ่งสากลย์คนธรรพ์พร้อมกันสังคีตดีดสี
เป็นที่เหิมเหมเปรมปรีต่างมีสุขล้ำสำราญ
บางองค์ทรงรำทำเพลงบังคลบรรเลงศัพท์สาร
บันเทิงเริงรื่นชื่นบานในวารอิ่มเอมเปรมใจ
กนกนคร, กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์